วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1823 ได้เกิดเพลิงไหม้นานถึง 5 ชั่วโมง เพลิงได้เผาผลาญทำลายมหาวิหารเกือบหมด
เหลือเพียงอาคารครึ่งหนึ่ง ประตูชัย และโมซาอิคเท่านั้นที่เป็นของเก่าดั้งเดิมมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเราอาจเรียกได้ว่า มุขที่ยื่นออกไปหลังแท่นนั้น
ที่ตั้งเทียนปาสกา Ciborio และ Chiostro (อาราม) ที่หลงเหลือจนทุกวันนี้ พระสันตะปาปา ลโอเน ที่ 12 ได้ทรงสร้างขึ้นใหม่
โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากกษัตริย์แห่ง Sadegna ผู้ปกครองประเทศ Paesi Bassi ฝรั่งเศส Sicily และ Zar แห่งรัสเซีย
การสร้างนี้ได้ใช้โครงสร้างที่ใกล้เคียงกับโครงสร้างเดิมมากที่สุด
มหาวิหารนักบุญเปาโลได้รับการเสกอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1854
นั่นคือสองวันหลังจากการประกาศข้อความเชื่อ Immaculate Conception ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1854 โดยพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9
ปัจจุบัน มหาวิหารแห่งนี้ได้รับการดูแลโดยนักบวชคณะเบเนดิกติน มหาวิหารแห่งนี้มีความกว้างใหญ่ถึง 132?65 เมตร
สองข้างระหว่างเสาหินภายในมหาวิหารนี้ มีรูปโมซาอิคของพระสันตะปาปาต่าง ๆ จนถึงองค์ปัจจุบัน เล่าขานกันสืบต่อมาว่า เมื่อใดก็ตาม
เมื่อรูปโมซาอิคของพระสันตะปาปาต่าง ๆ ในมหาวิหารนี้เต็มจนไม่สามารถมีรูปโมซาอิคได้อีก เมื่อนั้นจะเป็นวันสิ้นโลก
โดยที่เข้าไปชมมหาวิหารนี้
ก็มักจะชอบไปนั่งดูว่ายังเหลืออีกกี่ช่อง และจะเหลืออีกกี่ปี ผมไปนับมาครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนมิถุนายน 2007
นับได้ 13 ช่อง ก็ยังไม่รู้ว่าจะเหลืออีกกี่ปี
บนกำแพงใหญ่ข้างพระแท่นกลาง จะมีรูปวาดของศิลปินผู้หนึ่ง เป็นรูปโลงศพของพระนางมารีอา
โดยมีบรรดาอัครสาวกของพระเยซูเจ้าอยู่ข้าง ๆ
โลงศพนี้ เป็นเครื่อง หมายว่า
พระนางมารีอาได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ หากเราอยู่ด้านริมสุดของรูป โลงศพก็หันมาทางเรา
และหากเราเดินไปอีกด้านหนึ่งของรูป โลงศพก็จะหันตามเราไปเสมอ
เพื่อเตือนใจเราว่า “ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราล้วนต้องตาย”
หากไปเยี่ยมมหาวิหารนักบุญเปาโล ก็อย่าลืมไปชมภาพนี้เป็นขวัญตาพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16
ได้ประกาศเพื่อเฉลิมฉลอง 2,000 ปีของนักบุญเปาโล จึงประกาศให้ปีนักบุญเปาโลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2008
จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2009 ดังนั้น ตลอดปีนักบุญเปาโล จะมีกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดทั้งปีที่มหาวิหารนักบุญเปาโล
|